คำถามจากผู้ถือหุ้น
ปัญหาคดีการฟ้องร้องที่ได้แสดงไว้ในหมายเหตุงบการเงินข้อ 23.3 ที่มีทุนทรัพย์ถูกฟ้อง เป็นจำนวนเงินโดยรวมประมาณ 1,375 ล้านบาทนั้น เกี่ยวข้องกับกรณีเหตุการณ์ก่อการร้าย ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 หรือไม่ อย่างไร ?
คดีฟ้องร้องที่แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจาก การรับประกันภัยตามปกติของธุรกิจซึ่งแยกเป็นสองกรณีใหญ่ ๆ ได้แก่
- ผู้เอาประกันเรียกร้องค่าสินไหมในจำนวนเงินที่แตกต่างจากความเสียหายที่ประเมินตามความคุ้มครองใน กธ.
- ผู้ได้รับความเสียหาย (ซึ่งอาจไม่ใช่เป็นผู้เอาประกันกับบริษัท แต่เป็นคู่กรณีที่ได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการ กระทำของผู้เอาประกันกับบริษัท)เป็นผู้ฟ้องร้อง
ตามข้อเท็จจริง ผู้เป็นจำเลยของสองกรณีข้างต้นสามารถมีหลายบุคคลด้วยกัน ได้แก่ บริษัทผู้รับประกันภัยตรง บริษัทผู้ รับประกันภัยต่อ (ในฐานะจำเลยร่วม) บริษัทรับประกันของจำเลยในคดี เป็นต้น ผู้ฟ้องร้องจะยื่นฟ้องจำเลยหลายบุคคล ด้วยกันและทุนทรัพย์จะมีจำนวนเงินสูง แต่ส่วนสินไหมที่บริษัทเกี่ยวข้องในฐานเป็นจำเลยแต่ละคดีจะจำกัดเพียงสัดส่วน ที่บริษัทรับประกันภัยไว้เท่านั้น ซึ่งโดยปกติจะน้อยกว่าทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องไว้มาก ส่วนกรณีที่บริษัทเป็นจำเลยที่ 1 โดย ตรงมีไม่มากนักทั้งนี้ ส่วนที่บริษัทประเมินหนี้สินไว้ว่ามีโอกาสจะต้องจ่ายค่าสินไหมได้มีการบันทึกสำรองเผื่อผลเสียหายไว้แล้วตัวเลขเป็นดังที่ท่านได้สอบถามในข้อสอง
อนึ่ง การประเมินหนี้สินสำรองเผื่อผลเสียหายดังกล่าว มีการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสินไหมโดยตรง อีกทั้งอาศัยราย งานการสำรวจความเสียหายจากผู้ประเมินอิสระและจากนักกฎหมายที่รับมอบหมายในแต่ละคดีเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบ การประมาณการสำรองเผื่อผลเสียหายให้เหมาะสมตามหลักความระมัดระวังที่บริษัทถือปฏิบัติมาโดยสม่ำเสมอ
บันทึกส่วนสำรองเผื่อผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากคดีฟ้องร้องก่อนการเอาประกันภัยต่อ ในงบการเงินเป็นจำนวน 252.8 ล้านบาทนั้นถูกรับรู้ ไปในงบกำไรขาดทุนแล้วหรือไม่หรือเพียงถูกบันทึก สำรองไว้ในส่วนหนี้สินของงบดุลเท่านั้น ?
สำรองดังกล่าวได้มีการบันทึกเป็นหนี้สินไว้แล้วในงบดุล อนึ่งตามหลักบัญชีคู่ Double Entry การบันทึกหนี้ สินใด ๆ บริษัทจะต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายผ่านไปยังงบกำไรขาดทุน หากแสดงให้เห็นด้วยการลงบัญชี จะพบว่าบริษัท เดบิต ค่าใช้จ่ายประมาณการผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (งบกำไรขาดทุน ด้านค่าใช้จ่าย) เครดิต สำรองเผื่อผลเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น (งบดุลด้านหนี้สิน)
การประมาณสำรองดังกล่าวถือตามตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 37 ประมาณการหนี้สินหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องทำหน้าที่ประเมินความเพียงพอ เหมาะสมของการตั้งสำรองสำหรับกรณี ดังกล่าวด้วย หากไม่เหมาะสมสามารถให้ความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายงานการตรวจสอบ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนนี้เกิดจากค่าใช้จ่ายอะไร ?
รายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มีการเปิดเผยไว้แล้วในหมายเหตุข้อ 17 ของงบการเงินสำหรับ งวดสามเดือน และ งวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ซึ่งมาตรฐานการรายงานกำหนดให้แสดงรายละเอียด ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบ โปรดดูส่วนประกอบของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้จากหมายเหตุดังกล่าว ใน ส่วนของค่าโฆษณาถือเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มค่าใช้จ่ายดำเนินงาน โดยในระหว่างไตรมาสสอง บริษัทมีการทำโฆษณาประชา สัมพันธ์เรื่อง “คุณแพนด้า” เพื่อสื่อถึงการให้ความสำคัญด้านการบริการจัดการสินไหมภายใต้ สโลแกนที่ว่า “คุยง่าย จ่ายจริง ซ่อมทันใจเมืองไทยประกันภัย 1484” โดยสื่อโฆษณาดังกล่าวเป็นไปตามงบประมาณการดำเนินงานประจำปี ที่วางแผนไว้แล้วล่วงหน้า
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่และถ้าเพิ่มขึ้นจะเพิ่มขึ้นอีกกี่ไตรมาส ?
การพิจารณาแนวโน้มของค่าใช้จ่ายดังกล่าว ในเชิงตัวเลขดูเหมือนค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้น เช่น จาก 183 ลบ เป็น 235 ลบ สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นอัตรา ส่วนต่อเบี้ยรับรวม การเพิ่มของค่าใช้จ่ายปรับตัวเพิ่มในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างจากการเติบโตของเบี้ยรับรวม หากไม่รวมค่า ใช้จ่ายในส่วนของ โฆษณา เนื่องจากไม่ได้เป็นรายการที่เกิดตามปกติ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นภาพลักษณ์รวมทั้งคุณภาพการให้บริการ ซึ่งจะมีผลต่อเบี้ยประกันภัยรับในระยะยาว จะพบว่าค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เกิดขึ้นในไตรมาสสองเทียบ กับเบี้ยประกันภัยรับรวม มีอัตราที่ลดลงพอสมควร ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวมมีอัตราเพิ่มขึ้น
ถ้าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่เพิ่มแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะคงอยู่เป็น fixed cost เลยหรือเปล่า หมายถึงในอนาคตจะลดลงได้ไหม ?
ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นจำนวนเงิน หรือ สัดส่วนต่อเบี้ยประกันภัยรับ ในแง่จำนวนเงินอาจจะเพิ่มแต่เมื่อเทียบ เป็นสัดส่วนต่อเบี้ยประกันภัยการเพิ่มจะไม่เป็นสัดส่วนเดียวกัน โดยภาพรวมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประกอบด้วย fixed costs เช่นค่าเสื่อมราคา ค่าเช่าอาคารสำนักงาน และเงินเดือนพนักงานเป็นต้น และส่วนที่เป็น variable costs บางส่วน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ธรรมเนียมธนาคาร ค่าไปรษณีย์ เป็นต้น ตามปกติตามบริษัทมีการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อยู่แล้วเนื่องจากบริษัทมีการจัดทำงบประมาณประจำปี ซึ่งต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆให้เป็นไปตามงบประมาณ โดยการจัดทำโครงการภายในเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการลดค่าใช้จ่าย ประหยัดพลังงานและช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มของรายได้
บริษัทคาดหวังสิ่งใดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายส่วนดำเนินงาน (เช่น เบี้ยรับโตขึ้น, การเป็นที่รู้จักหรือติดตลาดมากขึ้น หรืออื่นๆ) ?
ในการดำเนินงานของบริษัท ค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามที่ได้ชี้แจงในข้อ 3 ไม่ได้ผันแปรตามยอดขาย หรือ เบี้ย ประกันภัยรับโดยตรงทุกรายการ แต่การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายที่ผันแปร เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของยอด ขายรวมทั้งการขยายตลาด เช่น บริษัทต้องเพิ่มอัตรากำลัง ขยายพื้นที่ในการทำงานเปิดสาขาใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพของ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ซึ่งต้องมีการพิจารณาถึงต้นทุนที่จะเกิดและรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ ดังนั้นค่าใช้ จ่ายในการดำเนินงานจะเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นตัวที่ถูกกำหนดก่อนแล้วไปพิจารณาถึงการขยายธุรกิจหรือยอดเบี้ยประกันภัยรับ ดังนั้นจึงเป็นรายการหนึ่งของตัวเลขทางการเงินที่พิจารณาประกอบกับการเติบโตของเบี้ยรับ ซึ่งต้องมีการวางแผนงาน ตามกลยุทธของบริษัทเป็นสำคัญ