เงื่อนไขการรับประกันภัย
ข้อยกเว้นที่สำคัญ
- ไม่คุ้มครองทรัพย์สินที่ตีราคายาก เช่น เงิน ทอง อัญมณี โบราณวัตถุ ต้นฉบับเอกสาร แบบพิมพ์ ภาพเขียน ธนบัตร
- ไม่คุ้มครองภัยพิเศษ นอกจากมีการซื้อเพิ่มเติม
- ภัยสงคราม ก่อการร้าย การเผาทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน อาวุธนิวเคลียร์ การแผ่รังสี หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสี การถูกลักทรัพย์ระหว่างหรือหลังจากถูกอัคคีภัย
ข้อแนะนำ
- การทำประกันรายใหม่ ควรแนบแผนผังแสดงสถานที่ตั้งทรัพย์สินมาด้วยเพื่อที่บริษัทฯ จะได้กำหนด อัตราค่าเบี้ยประกันภัยได้ถูกต้อง
- การตีราคาทุนประกันของสิ่งปลูกสร้างจะต้องไม่รวมมูลค่าของที่ดินที่ตั้งอยู่และรากฐานของสิ่งปลูกสร้างนั้น
- ผู้เช่าสามารถทำประกันได้ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งตกแต่งติดตั้งตรึงตรา และหากผู้เช่าทำประกันภัยตัวอาคารที่เช่า จะต้องยกผลประโยชน์และทำในนามของเจ้าของกิจการเท่านั้น
- กรณีที่มีการประกันไว้กับบริษัทอื่น จะต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ
- การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ (การออกสลักหลัง) จะถือเอาวันที่บริษัทได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้รวมถึงการยกเลิกกรมธรรม์ด้วย
- การทำประกัน ต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง มีผลให้ได้รับค่าสินไหมเฉลี่ยตามสัดส่วน
- การทำประกัน สูงกว่า มูลค่าที่แท้จริง จะได้รับค่าสินไหมเท่ากับมูลค่าจริง
- การระบุพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง ให้ระบุเป็น กว้างxยาว ต่อคูหาหรือต่อหลัง(ระบุเป็นเมตร)
การประกันภัยแบบกระแสรายวัน
กรมธรรม์แบบกระแสรายวันนี้จะออกให้โดยถือหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขพิเศษดังนี้
- การประกันสต็อกสินค้า โดยที่จำนวนทุนประกันของกรมธรรม์ฉบับเดียวหรือมากกว่า 1 ฉบับ สำหรับภัยเดียวกันต้องมีจำนวนทุนประกันไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยคำนวณเบี้ยประกันเพียง 75% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และจะมีการปรับปรุงเมื่อสิ้นระยะเวลาของการประกันภัย
- ทุนประกัน คือ จำนวนเงินในขั้นสูงสุดที่บริษัทฯ จะต้องรับผิดชอบตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- ไม่มีการลดทุนประกันในระหว่างกำหนดอายุสัญญาที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่
- ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งมูลค่าของสินค้าให้บริษัทฯทราบเป็นหนังสือ โดยแจ้งมูลค่าเฉลี่ยของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแต่ละวันของเดือนให้บริษัทฯ ทราบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
หมายเหตุ
- เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นเป็นไปตามกรมธรรม์
- ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัย